https://www.youtube.com/watch?v=KJ-THgWXLZY
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559
บทนำ
คำนำ
บล็อกเกอร์เรื่องนี้ เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาคอมพิวเตอร์และวิชาศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้รู้ความหมายของทัศนศิลป์ของไทยและสากล ความแตกต่างกัน ลักษณะต่างๆของไทยและสากล อีกทั้งรู้ประวัติความเป็นมา ซึ่งเราสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำงาน เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นเรื่องที่บางกลุ่มชนไม่รู้ ถึงประวัติความเป็นมา และความหมายต่างๆ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบล็อกเกอร์เรื่องนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
ผู้จัดทำ
นางสาว ชลธิชา สังข์ทอง
ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล
ทัศนศิลป์ของไทยและสากล
ผลงานทัศนศิลป์ล้วนมีปรากฎอยู่ในแต่ละวัฒนธรรม ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ขึ้นมาก็ล้วนแต่ต้องการตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งสิ้น สำหรับสังคมไทย ผลงานทางด้านทัศนศิลป์มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์งานมีอยู่หลายปัจจัย เช่นเดียวกับทัศนศิลป์สากลก็จะมีรูปแบบแตกต่างไปจากของไทย และมีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ที่มีบางด้านมีทั้งเหมือนและแตกต่างจากทัศนศิลป์ไทย การเรียนรู้ทำความเข้าใจทัศนศิลป์ไทยและสากล จะช่วยทำให้เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ระหว่างสองวัฒนธรรมได้
ที่มา : http://www.namsongkram.com/2015/01/blog-post_13.html
การแบ่งสถูปเจดีย์ตามลักษณะของสถาปัตยกรรม
- แบบลังกา
เป็นสถูปที่นำแบบมาจากสถูปแบบแรกในโลก ซึ่งสร้างที่เมืองสัญจิ ประเทศอินเดีย โดยพระเจ้าอโศกมหาราช มีลักษณะรูปทรงครึ่งวงกลมคว่ำอยู่บนฐานทรงกลม ด้านบนมีบัลลังก์เป็นรูปสี่เหลี่ยมหมายถึงที่ประทับของกษัตริย์ ตรงกลางปักฉัตรเป็นวงกลมแบน ๆ 3 ชั้น ต่อมาช่างลังกาได้ดัดแปลงรูปทรงครึ่งวงกลมดังกล่าวเป็นทรงระฆังและรูปทรงนี้ได้แพร่หลายไปยังชาติที่นับถือศาสนาพุทธในทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทยศาสนาพุทธได้เดินทางมาโดยเรือสำเภาขึ้นฝั่งที่ภาคใต้ของประเทศไทย และตั้งมั่นที่เมืองนครศรีธรรมราชในสมัยทวารวดี ได้มีการสร้างพระบรมธาตุขึ้นตามรูปแบบของสถูปแบบลังกา แต่เพิ่มยอดสูงกว่า ส่วนทางพม่าได้มีการสร้างพระธาตุพุกามขึ้นที่เมืองพุกาม มีรูปแบบดัดแปลงจากสถูปแบบลังกา คือ เน้นให้มีฐานสูงขึ้นทำเป็นรูปแปดเหลี่ยมและมีฉัตรที่ปลายยอด
- แบบศรีวิชัย
สถูปสมัยศรีวิชัยนี้สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากชวาหรืออาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งรวมอาณาเขตชวา สุมาตรา และแหลมมลายูเข้าไปด้วย อาณาจักรศรีวิชัยนี้เดิมได้รับอิทธิพลทางด้านศาสนาพุทธมาจากลังกานั่นเอง ดังนั้นผลงานศิลปกรรมจึงมีอิทธิพลของอินเดียและลังกาปนอยู่มาก สถูปที่สร้างในสมัยนี้คือ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะเป็นตัวสถูปองค์ใหญ่อยู่กลาง มีสถูปองค์เล็ก ๆ ล้อมรอบเป็นชั้น ๆ ทำฐานสูง บางทีเรียกว่าสถูปทรงมณฑป
- แบบเชียงแสน หรือล้านนา
ในสมัยเชียงแสนหรือล้านนานั้น ได้นำเอาสถูปทรงลังกามาดัดแปลงให้เป็นรูปแบบของตนเองคือ ทำให้มีฐานสูงและทำเป็นรูปแปดเหลี่ยมย่อส่วนเล็กลงเรื่อย ๆ ส่วนองค์ระฆังจะมีทรงกลมเล็กกว่าฐาน มีฉัตรตรงปลายยอด เช่น พระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และพระบรมธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูนเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสถูปที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เช่น พระเจดีย์เจ็ดยอด ที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช ตามแบบพุทธคยาในอินเดีย เจดีย์พระนางจามเทวีที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เป็นเจดีย์แบบหริภุญไชยหรือก่อนล้านนาที่ได้รับอิทธิพลจากสมัยทวารวดี นอกจากนี้ยังมีเจดีย์แบบที่เรียกว่าทรงปราสาท เช่น วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ วัดเชียงมั่น เชียงใหม่ เป็นต้น
- แบบโคตรบูรณ์
เป็นรูปแบบของสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งนิยมสร้างในเขตประเทศลาว บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฝั่ง มีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีซุ้มโดยรอบและด้านบนตัวองค์ระฆังเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักษณะป่องตรงกลางเป็นกระเปาะและเรียวไปหาปลายยอดคล้ายรูปดอกบัวตูมมีฉัตรที่ปลายยอด บางทีเรียกว่าแบบดอกบัวเหลี่ยม เช่น พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นต้น
- แบบสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยมีสถูปอยู่หลายแบบ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของศิลปะจากแบบลังกาและขอม รวมทั้งได้ดัดแปลงของแบบตนเองขึ้นอีก จึงมีสถูปถึง 3 แบบคือ
- แบบลพบุรี เป็นสถูปที่ทำเป็นพระปรางค์แบบขอมได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบลพบุรี แต่ดัดแปลงให้มีลักษณะผอมสูงกว่าและมีซุ้มที่ทำให้ติดกับองค์ปรางค์ไม่ยื่นออกมา เช่น วัดศรีสวาย
- แบบสุโขทัย เป็นสถูปทรงสูงมีฐานสี่เหลี่ยม 3 ชั้นย่อมุมและตอนบนสุดทำเป็นทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ บางที่เรียกว่าทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่น วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดมหาธาตุสุโขทัย และสถูปวัดพระธาตุ จังหวัดกำแพงเพชรเป็นต้น
- แบบลพบุรี
เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นโดยชนชาติขอม ซึ่งแต่เดิมนับถือศาสนาพราหมณ์และนิยมสร้างพระปรางค์ขึ้นโดยให้มีฐานสูงและ มีองค์พระปรางค์อยู่ชั้นบนมีซุ้มประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ และตรงกลางภายในปรางค์เป็นห้องโถงเพื่อประดิษฐานเทวรูป ต่อมามีกษัตริย์ขอมบางพระองค์เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธก็มีการสร้างพระ ปรางค์ให้มีฐานต่ำลงมาเพื่อใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปแทนและรูปแบบการ สร้างพระปรางค์ได้แพร่หลายไปสู่อาณาจักรอื่น ๆ เช่น สุโขทัย อู่ทองและอยุธยา ที่นิยมเรียกกันว่า ปราสาทหิน เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินเขาพระวิหาร
- แบบอยุธยา
อันที่จริงแล้วการสร้างงานศิลปกรรมของสมัยอยุธยานั้นเริ่มต้นจากสมัยอู่ทองก่อนที่จะกลายเป็นสมัยอยุธยา ในสมัยเริ่มต้นสถูปโดยมากนิยมสร้างแบบพระปรางค์ตามอิทธิพลศิลปะแบบลพบุรีแต่ดัดแปลงให้มีองค์ปรางค์สูงขึ้นมีย่อมุมมากขึ้น เช่นพระปรางค์วัดราชบูรณะ มักสร้างเป็นปรางค์ห้ายอด คือมีองค์ใหญ่อยู่กลาง 1 องค์ องค์เล็กล้อมรอบ 4 องค์ ต่อมารูปแบบการสร้างสถูปแบบลังกาได้แพร่หลายมาจากสุโขทัยและมีการดัดแปลงเพียงแต่เพิ่มมุขเข้าประดับองค์เจดีย์ เช่นพระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ จนกระทั่งได้พัฒนาให้มีรูปแบบเป็นทรงสี่เหลี่ยมและมีการย่อมุมของฐานจนเรียกว่าแบบย่อมุมไม้สิบสอง เช่นเจดีย์ศรีสุริโยทัย ซึ่งถือเป็นแบบของอยุธยาโดยเฉพาะ
- แบบรัตนโกสินทร์
เมื่อเริ่มมีการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นได้มีการนำเอาช่างมาจากกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งสิ้นจึงทำให้รูปแบบการก่อสร้างจำลองมาจากอยุธยาเป็นส่วนมากมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย เช่นการก่อสร้างสถูปแบบพระปรางค์ทำให้สูงชะลูดขึ้นไปอีกเน้นลวดลายที่ฐาน และนำเอากระเบื้องเซรามิคส์มาประดับองค์เจดีย์ เช่นพระปรางค์วัดอรุณ การก่อสร้างสถูปทรงลังกาในแบบอยุธยา และยังมีการสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง รวมทั้งมีการนำเอาพระปรางค์มาประดับยอดปราสาทและมีการสร้างมณฑปบนสถานที่สำคัญ เช่น รอยพระพุทธบาท เป็นต้น
งานประติมากรรมไทย (Thai Sculpture)
งานประติมากรรมไทยเป็นงานที่เกี่ยวข้องหรือรับใช้ศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติมาแต่ดั้งเดิม จึงมักมีงานอยู่ 2 แบบคือ งานประติมากรรมเกี่ยวกับพระพุทธรูป โดยทั่วไปมักเรียกงานว่าปฏิมากรรม (ซึ่งเป็นงานที่เด่นที่สุด) และงานประติมากรรมตกแต่งอาคารสถานที่ เหตุที่นำเอาพระพุทธรูปมาเป็นหลักในการศึกษาประติมากรรมไทยเพราะเหตุว่า
1. มีความงดงามถึงขั้นสูงสุด (Classic) ตามแบบอุดมคติ
2. มองเห็นความแตกต่างของฝีมือแต่ละสกุลช่างได้ชัดเจน
3. มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
สมัยทวารวดี
พระพุทธรูปสมัยนี้มีลักษณะที่สำคัญคือ พระเกตุมาลาเป็นต่อมสั้น
พระศกเป็นก้นหอยไม่มีไรพระศก พระขนงยาวเหยียด พระพักตร์แบนกว้าง พระโอษฐ์หนา
พระหนุป้าน จีวรบางแนบติดกับองค์พระ มีพระหัตถ์และพระบาทใหญ่
สมัยศรีวิชัย
มีลักษณะที่สำคัญคือ พระพุทธรูปสมัยนี้มีน้อยแต่มีรูปจำลองของพระโพธิ์สัตว์เป็นจำนวนมาก
เพราะศาสนาพุทธนิกายมหายานนับถือพระโพธิสัตว์
สมัยลพบุรี
เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากชนชาติขอมมีลักษณะของพระเกตุมาลาเป็นต่อมเหมือนสมัยทวารวดีหรืออาจเป็นรูปก้นหอย
เป็นรูปคล้ายฝาชีครอบเป็นกระบังคล้ายมงกุฎเทวรูป หรือเป็นรูปดอกบัวมีกลีบรอบ ๆ
บ้าง แต่จะมีไรพระศกเสมอ และทำเป็นเส้นใหญ่กว่าสมัยศรีวิชัย
พระพักตร์กว้างเป็นเหลี่ยม พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน ชายสังฆาฎิยาว
พระกรรณยาวจนจดพระอังสา พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา
สมัยเชียงแสน
ถือว่าเป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบไทยแท้เป็นสมัยแรก
แบ่งออก 2 รุ่นคือ
แบบเชียงแสนรุ่นแรกพระพุทธรูปสมัยนี้ได้รับการยกย่องว่ามีความงามทัดเทียมกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
(ซึ่งเป็นสมัยที่ยกย่องว่าสร้างพระพุทธรูปได้สวยงามที่สุด)
บางทีเรียกว่าพระสิหิงค์หรือพระสิงห์
พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกมีลักษณะดังนี้คือนิยมสร้างให้มีพระวรกายอวบอ้วน ,ประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชร,พระหัตถ์มีลักษณะแบบกลมกลึง, พระพักตร์อูมอิ่ม พระหนุเป็นปม
พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก, พระอุระนูน, สังฆาฏิสั้นเหนือพระอุระ,พระรัศมีเป็นต่อมกลม
เม็ดพระศกเป็นต่อมกลมใหญ่หรือเป็นก้นหอยไม่มีไรพระศก
สมัยสุโขทัย
ถือว่าเป็นสมัยที่การสร้างพระพุทธรูปได้เจริญถึงขั้นสูงสุด
(Classic)
ได้มีการแบ่งลักษณะพระพุทธรูปออกเป็น
5 แบบ หรือ 5 หมวด ที่สำคัญคือ
- หมวดใหญ่ มีลักษณะพระพักตร์รูปทรงกลมหรือบางทีก็สร้างคล้ายรูปไข่
พระนลาฏกว้างสมส่วนกับพระปรางค์ พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีทำเป็นเปลวสูง
พระอังศากว้างดูผึ่งผาย พระอุระนูนเล็กน้อย นิยมนั่งขัดสมาธิราบ
-หมวดพระพุทธชินราช
ซึ่งได้สร้างขึ้นในขณะที่ศาสนาพุทธในกรุงสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด
และนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างได้สวยงามที่สุดของสมัยสุโขทัย ตัวอย่างเช่น
พระพุทธชินราช ที่วัดใหญ่หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก
มีลักษณะพระพักตร์และนลาฏกว้าง รับกับส่วนพระปรางค์ซึ่งดูอิ่มเอิบ ลักษณะยิ้มละไม
สมัยอยุธยา
แบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ
- แบบอยุธยารุ่นแรก
หรือแบบอู่ทอง
ได้รับอิทธิพลจากสมัยสุโขทัยและยังรับเอาอิทธิพลศิลปะแบบลพบุรีขอมเข้าไปด้วย
พระพุทธรูปมีลักษณะพระโอษฐ์หนาและพระขนงขมวดดูเคร่งขรึม พระหนุป้าน
พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีมีทั้งเป็นต่อมกลมแบบลพบุรีและเป็นเปลวแบบสุโขทัย
เส้นพระศกละเอียดมีไรพระศก
ชายสังฆาฏิยา ขัดสมาธิราบ
ฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเว้าเข้าด้านใน
- แบบอยุธยารุ่นหลัง เนื่องจากมีสงครามติดพันกับพม่ายาวนาน
ความประณีตในการสร้างงานศิลปะเกี่ยวกับรูปคนเสื่อมลงลักษณะของพระพุทธรูปจึง
เสื่อมลงด้วยแต่การตกแต่งดีขึ้นมากจึงเกิดมีพระทรงเครื่องขึ้นในสมัยนี้
คือมีการตกแต่งพระพุทธรูปยืนด้วยการสวมมงกุฎ
และตกแต่งองค์พระด้วยเครื่องแต่งกายคล้ายละครหรือเครื่องทรงกษัตริย์
มีสองแบบคือพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่และพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย
ส่วนลักษณะของพระพุทธรูปทั่วไปมักทำพระเกตุมาลาหรือพระรัศมีตามแบบสุโขทัย แต่โดยมากมีไรพระศก
และสังฆาฏิใหญ่
สมัยรัตนโกสินทร์
ในยุคแรกเช่นในสมัยรัชกาลที่ 1
นำพระพุทธรูปจากหัวเมืองเหนือ มาประดิษฐานในกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 3
มีการคิดปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้น สมัยรัชกาลที่ 4
สร้างพระพุทธรูปคล้ายคนจริงมากขึ้นเพราะรับอิทธิพลจากตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 9
พ.ศ.2500 มีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นประธานพุทธมณฑลที่นครปฐม ผู้ออกแบบคือ
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
งานสถาปัตยกรรมไทย (Architecture)
ลักษณะงานสถาปัตยกรรมของไทยนั้น
สามารถแบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้ในการออกแบบ
การตกแต่งรวมทั้งลักษณะการใช้งาน ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับศาสนา
- สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับศาสนา
เนื่องจากศาสนาพุทธได้รับการยอมรับให้เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่เดิม
ดังนั้นการก่อสร้างให้เป็นสถานที่สำหรับชุมนุมเพื่อประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา
พร้อมทั้งเป็นสถานที่สำหรับกราบไหว้บูชาของพุทธศาสนิกชนไปด้วย
สถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและมีรูปแบบที่ต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบันคือ
สถูปและเจดีย์ซึ่งมีหลักฐานทางศิลปะโบราณวัตถุสถานให้ศึกษาอยู่เกือบทุกสมัยตั้งแต่เริ่มสร้างมา
ที่มา : http://www.ipesk.ac.th/ipesk/home/VISUAL%20ART/lesson502.html
ศิลปินได้สร้างผลงานที่มีความแตกต่างกันถึง 5 ประเภท
- ประเภทที่เกี่ยวกับเรื่องเทวดา เรื่องเทพนิยายลึกลับ และเรื่องของบุคคลในราชวงศ์
- ประเภทที่เกี่ยวกับการใช้ตัวละครของรามเกียรติ์
- ประเภทที่เกี่ยวกับการฟ้อนรำ การเกี้ยวพาราศี และบุคคลชั้นสูง ซึ่งมีความแตกต่างกันตามยศ ศักดิ์
- ประเภทที่เกี่ยวกับคนธรรมดาสามัญ แสดงชีวิตความเป็นอยู่ มีการแทรกเรื่องราวประเภทตลกขบขัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ร่าเริงของคนไทย
- ประเภทที่เกี่ยวกับฉากนรกมักแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ธรรมดาแต่เป็นเรื่อง ราวที่เกี่ยวกับการลงโทษมนุษย์อย่างรุนแรงที่สุดตามแต่จะจินตนาการขึ้นมาได้ ตัวอย่างภาพเหล่านี้ปรากฏอยู่ตามวัดสำคัญ ๆ คือ ภาพผนังของพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ภาพผนังวัดดุสิตตาราม ภาพผนังที่วัดสุทัศน์ ภาพผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพผนังวัดเชตุพนวิมลมังคลารามแลวัดสุวรรณาราม เป็นต้น
ผลงานจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากจะมีอยู่ในกรุงเทพมหานครดังกล่าวแล้ว ยังมีภาพผนังตามวัดต่าง ๆ ในจังหวัดอื่น ๆ อีกเช่น ที่วัดสุวรรณดารารามจังหวัดอยุธยา วัดใหญ่อินทารามจังหวัดชลบุรี วัดราชบูรณะจังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งการเขียนภาพผนังของวัดทางภาคเหนือที่จัดทำขึ้นมาในช่วงเวลานี้อีก ด้วย เช่นที่วัดพระสิงห์จังหวัดเชียงใหม่ วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน เป็นต้น
วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทย
จากหลักฐานของงานจิตรกรรมไทยนั้นปรากฏว่าเริ่มต้นตั้งแต่สมัยสุโขทัยและมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
สมัยสุโขทัย
มีภาพที่แกะสลักหินเป็นลายเส้น ซึ่งเรียกว่าภาพแกะลายเบาอยู่ที่ช่องกำแพงวัดศรีชุม จ.สุโขทัย จิตรกรรมแบบระบายสีในสมัยสุโขทัยก็คือภาพผนังที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ลักษณะของภาพเป็นการเขียนโดยใช้สีแดง สีขาวและสีดำ เข้าใจว่าสีอื่น ๆ เช่น สีเขียวยังไม่มีใช้
สมัยอยุธยา
มีงานจิตรกรรมที่สำคัญ ๆ ดังนี้
- จิตรกรรมสีปูนเปียก (Fresco) ที่ปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ภาพผนังในเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ภาพผนังในพระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี
- ภาพผนังโบสถ์วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี
นอกจากนั้นยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่อื่น ๆ อีกเช่น ที่วัดพุทธไธสวรรย์ จังหวัดอยุธยา วัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี ภาพในหอเขียนวังสวนผักกาด และเป็นที่น่าสังเกตว่าการเขียนภาพแบบที่มองจากที่สูงหรือแบบนกมอง
สมัยธนบุรี
มีภาพไตรภูมิซึ่งแสดงถึงโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ โลกมนุษย์ และนรก ปัจจุบันนี้ภาพจิตรกรรมไทยในสมุดไตรภูมิของสมัยธนบุรีถูกเก็บรักษาไว้ในพระที่นั่งศิวโมกข์วิมานพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
สมัยรัตนโกสินทร์
เนื่องจากได้มีการสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงต้องระดมเอาศิลปินมาจากอยุธยาเพื่อช่วยกันเขียนภาพฝาผนังในวัดต่าง ๆ เหล่านั้น รูปแบบการเขียนภาพของศิลปินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาพในสมัยต่อมาอย่างยิ่ง อาจจะเรียกว่าเป็นสมัยสูงสุด (Classic) ของกิจกรรมไทยก็ได้ ดังตัวอย่างจากผลงานของพระที่นั่งพุทธไธศวรรย์ หรือที่วัดสุทัศน์และวัดสุวรรณารามเป็นต้น
สมัยปัจจุบัน
โดยมากมักจะถือเอาสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นจุดเริ่มต้น ผลงานศิลปะต่าง ๆ ในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกมาเป็นส่วนมาก รวมทั้งงานด้านจิตรกรรมด้วยทำให้มีการประยุกต์วิธีการเขียนภาพและวัสดุต่าง ๆ มาเป็นวัสดุสมัยใหม่ตามแบบตะวันตก เช่นใช้สีอะครีลิคหรือสีน้ำมันแทนสีฝุ่น หรือแม้กระทั่งใช้เทคนิคการพิมพ์ภาพแทนการเขียนภาพ ส่วนรูปแบบในการเขียนก็มีการนำเอาจินตนาการแปลกใหม่มาผสมกับรูปแบบจิตรกรรมประเพณีแบบดั้งเดิม ทำให้ภาพเขียนที่เป็นแบบสมัยใหม่และนำไปตกแต่งอาคารบ้านเรือนได้แทนที่จะปรากฎอยู่แต่บนผนังโบสถ์ วิหาร เช่นแต่ก่อน แนวโน้มของจิตรกรรมไทยคงจะมีการเขียนด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับยุคสมัยไปเรื่อย ๆ และแพร่หลายไปสู่สาธารณะมากขึ้นกว่าสมัยที่ผ่านมา
ที่มา : http://www.thaksinawat.com/suwat/thaipainting.htm
หลักการเขียนภาพงานจิตรกรรมไทย
1. กนก ภาษาสันสกฤต แปลว่า “หนาม”สำหรับช่างเขียนโบราณ กนก คือ ดงป่าดงไม้ มีแบบฟอร์มคือเปลวไฟเป็นรูปสามเหลี่ยม การฝึกร่างลวดลาย ให้รู้จักความประสานสัมพันธ์กันของเส้นที่ผูกรวมกันเป็นลายไทย โดยเฉพาะกนกแบบต่างๆ เช่น กนกสามตัวกนกใบเทศ กนกเปลว ถือเป็นปฐมบทที่ต้องฝึกฝนให้ชำนาญก่อนที่จะทำการช่างอย่างอื่นต่อไป
2. นารี คือ การเรียนรู้ฝึกฝนเกี่ยวกับการเขียนหน้ามนุษย์ เทวดา นางฟ้า พระ และนางทั้งด้านหน้าตรงและด้านหน้าเพล่ ซึ่งถือว่าเป็นภาพหลักของภาพไทย เมื่อเขียนได้คล่องแคล่วดีแล้ว จึงฝึกเขียนทั้งตัวในอริยาบถต่าง ๆ ภาพเหล่านี้จะแสดงอารมณ์ด้วย กิริยา ใบหน้าของตัวภาพจะไม่แสดงอารมณ์ดังนั้นจึงฝึกฝนเขียนตัวภาพไทยให้งดงามถูกต้องตามแบบแผนของศิลปะไทย นอกจากการฝึกเขียนตัวภาพหลักดังกล่าวแล้ว ยังต้องฝึกการเขียนภาพกากหรือตัวภาพที่เป็นคนธรรมดาและการเขียนภาพจับสำหรับเขียนเรื่องรามเกียรติ์ให้เกิดความชำนาญด้วย
3. กระบี่ คือ การฝึกเขียนภาพอมนุษย์ต่าง ๆ ได้แก่ พวกยักษ์ วานร เป็นต้น ในการฝึกจะต้องฝึกจากภาพลิงหรือกระบี่เป็นอันดับแรก เมื่อเขียนได้แม่นยำแล้วจึงฝึกเขียนภาพอื่นต่อไป การฝึกเขียนภาพหมวดนี้จะเป็นประโยชน์ในการเขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์
4. คชะ คือ การฝึกเขียนภาพสัตว์สามัญและภาพสัตว์ประดิษฐ์ต่างๆ โดยเริ่มจากคชะหรือช้างซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ก่อน แล้วจึงฝึกเขียนภาพสัตว์เล็กๆ ต่อไป ในหมวดนี้จะแบ่งสัตว์ที่เขียนเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือสัตว์ที่มีอยู่บนโลกมนุษย์ เช่น ช้าง ม้า วัว นก เป็นต้น ประเภทที่สอง คือ สัตว์ประดิษฐ์หรือสัตว์หิมพานต์ เช่น กินรี ราชสิงห์ เป็นต้น
กรรมวิธีการเขียนภาพไทย มักเขียนประดับตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร ศาลาวัด (Mural Painting) มีวิธีเขียนอยู่ 3 วิธีคือ
1. เขียนสีฝุ่นปูนแห้ง (Tempera)
เป็นการเขียนโดยการผสมสีฝุ่นกับกาวหนังหรือ กาวกระถิน หรือไข่ขาวผสมน้ำผึ้ง แล้วเขียนลงบนผนังปูนที่ฉาบแห้งสนิทแล้ว สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้ดี ใช้เวลาเขียนนานมาก อายุของภาพสั้นเนื่องจากหลุดลอกได้ง่ายเมื่อโดนน้ำ หรือแสงแดด
2. การเขียนแบบปูนเปียก (Fresco)
คือการเขียนสีฝุ่นผสมลงบนผนังปูนหลังจากที่ช่างฉาบเสร็จหมาด ๆ เพื่อให้สีซึมเข้าไปในเนื้อปูน เป็นการเขียนแข่งกับเวลาที่ปูนจะแห้งตัวจึงต้องเขียนอย่างรวดเร็ว เก็บรายละเอียดได้น้อย แต่อายุของภาพจะยาวนานกว่าแบบแรก และลักษณะของภาพจะเป็นช่อง ๆ จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
3. การเขียนแบบลงรักปิดทอง
หรือการเขียนแบบสีฝุ่นผสมการปิดทองเพื่อเน้นจุดเด่นในภาพ เช่นงานเขียนลวดลายตู้พระธรรม ตู้พระไตรปิฎก
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย
จะคงไว้ในรูปของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นศิลปะประจำชาติที่เราควรภาคภูมิใจ โดยจะแบ่งเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้
- สมัยก่อนสุโขทัย
- สมัยสุโขทัย
- สมัยอยุธยา
- สมัยรัตนโกสินทร์
ศิลปะไทย
เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาเพื่ออุทิศให้กับศาสนาพุทธเป็นส่วนมากมีลักษณะเป็นแบบอุดมคติคือมีลักษณะ ไม่เหมือนจริง แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ จิตรกรรม ประติมากรรม(ปฏิมากรรม) สถาปัตยกรรม ส่วนงานอื่น ๆ เช่นวรรณคดี ดนตรี การแสดง นั้นมักแยกไปศึกษาในลักษณะของศาสตร์นั้นๆโดยเฉพาะ อีกทั้งผลงานดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นศิลปวัตถุจึงไม่สามารถนำมาศึกษารวมกันในที่นี้ นอกจากนี้ศิลปะไทยยังแบ่งออกเป็นยุคสมัยต่างๆ ดังนี้ สมัย ทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสนหรือล้านนา สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยปัจจุบัน งานศิลปะที่เด่นที่สุดของสมัยต่างๆ คืองานด้านประติมากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเรียกเฉพาะว่างาน ปฏิมากรรม และงานสถาปัตยกรรมเช่น สถูปเจดีย์โบสถ์ วิหาร ในสมัยปัจจุบันมีอิทธิพลของตะวันตกเข้ามามีบทบาทในการสร้างงานศิลปะจนกลาย เป็นแบบสากลแต่ศิลปินส่วนหนึ่งยังคงสร้างงานในรูปแบบเดิมที่เรียกว่า ศิลปะประเพณี Traditional Art
ที่มา : http://www.namsongkram.com/2015/01/blog-post_13.html
ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย
ผลงานทัศนศิลป์ของไทยที่สร้างขึ้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ วิจิตรศิลป์ หรือ ศิลปะแท้ คือ ผลงานจิตกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม และประยุกต์ศิลป์ คือ การออกแบบตกต่าง และ แฟชั่น ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ทั้งสองประเภท ได้แก่
1. แนวความคิกและปรัชญาความเชื่อ 2. วัสดุและสิ่งแวดล้อม 3. การรับอิทธิพลทางศิลปะ 4. หน้าที่ใช้สอย สรุปได้ว่า จุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย เมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่ปรากฎตามภูมิภาคต่างๆส่วนใหญ่จะพบถึงความเกียวข้องเชื่อมโยงกัน ในเรื่องของความของความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนาและประเพณี วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานโดยรวม
1. แนวความคิกและปรัชญาความเชื่อ 2. วัสดุและสิ่งแวดล้อม 3. การรับอิทธิพลทางศิลปะ 4. หน้าที่ใช้สอย สรุปได้ว่า จุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย เมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่ปรากฎตามภูมิภาคต่างๆส่วนใหญ่จะพบถึงความเกียวข้องเชื่อมโยงกัน ในเรื่องของความของความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนาและประเพณี วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานโดยรวม
ที่มา : http://www.namsongkram.com/2015/01/blog-post_13.html
ตัวอย่างทัศนศิลป์วัฒนธรรมของไทย
งานทัศนศิลป์ของไทย สมัยรัตนโกสินทร์
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=6GpgudyUcYA
ศิลปะ ประเทศไทย สมัยอยุธยา
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=yh8BDLmEb3s
วิวัฒนาการของศิลปะสากล
ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล
ศิลปะสากลเป็นศิลปะที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะตะวันตก มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย และแพร่หลายไปยังต่างชาติต่างๆ ซึ่งผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างกันขั้นมาในสมัยหลังๆส่วนใหญ่จะใช้แบบแผนตามแบบอย่างของศิลปะสากล ในระยะแรกงานศิลปะแบบสากลจะใช้เป็นแบบเลียนแบบธรรมชาติและสิ่งใกล้ตัว ระยะหลังในสมัยกรีกและโรมันมีบทบาท จึงมีการพัฒนางานศิลปะรูปแบบต่างๆขึ้นมา
- รูปแบบของทัศนศิลป์สากล
ทัศนศิลป์สากล เกิดจากการจัดภาพแบบสากลที่ได้ผสมผสานรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ผ่านการทดลองปรับปรุง ดัดแปลง เลือกสรรจนวิวัฒนาการรูปแบบเป็นที่นิยมทั่วทุกชาติ โดยแบ่งรูปแบบออกตามลักษณะของงานที่สร้างสรรค์ได้ 3 รูปแบบคือ
- รูปแบบรูปธรรม (Realistic) ศิลปะแบบเหมือนจริง เป็นศิลปะที่ไม่ซับซ้อนมีเนื้อหาสาระที่ปรากฏเด่นชัดแต่ผู้สร้างและผู้ชม ต้องมีความรู้เรื่องนั้นด้วย เช่นภาพคน ภาพสัตว์
- รูปแบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) เป็นการถ่ายทอดที่ผิดเบนไปจากรูปธรรมหรือ แบบเหมือนจริงด้วยการตัดทอนรูปทรงจากของจริงให้เรียบง่าย แต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่สามารถดูรู้ว่าเป็นภาพอะไร
- รูปแบบนามธรรม (Abstract Art) เป็นศิลปะประเภทที่ไม่มีความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอนให้เหลือแค่เส้นสี น้ำหนัก ที่ก่อให้เกิดความงามตามอารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่เหนือความเป็นจริงต้องใช้จินตนาการในการรับรู้รับชม
ที่มา : http://cheeranan.exteen.com/
ที่มา : http://fareedalaeloy.blogspot.com/2015_09_01_archive.html
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/the_visual_aesthetics/10.html
วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
ศิลปะสากล
ศิลปะสมัยกลาง ( Middle Age )
- โบสถ์เซนต์โซเฟีย St.Sophia
- ภาพขบวนแถวของนักบวช
- ภาพพระแม่แห่งวลาดิเมียร์
http://learning.eduzones.com/67867/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5
วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559
ประวัติผู้จัดทำ
นางสาว ชลธิชา สังข์ทอง
ชื่อเล่น เชอร์รี่
อายุ 15 ปี
วัน/เดือน/ปีเกิด 6/มิ.ย/43
โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต
เข้าชมรม นาฏศิลป์
เพื่อนสนิท มี5 คน
เป็นคนจังหวัด ภูเก็ต
มีพี่น้องทั้งหมด 2 คน (เป็นพี่คนโต)
ชอบสี ฟ้า เพราะเป็นสีที่ดูสดใส อ่อนๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)