วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย



จะคงไว้ในรูปของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นศิลปะประจำชาติที่เราควรภาคภูมิใจ  โดยจะแบ่งเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้


  • สมัยก่อนสุโขทัย
  • สมัยสุโขทัย
  • สมัยอยุธยา
  • สมัยรัตนโกสินทร์



ศิลปะไทย

เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาเพื่ออุทิศให้กับศาสนาพุทธเป็นส่วนมากมีลักษณะเป็นแบบอุดมคติคือมีลักษณะ ไม่เหมือนจริง แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ จิตรกรรม ประติมากรรม(ปฏิมากรรม) สถาปัตยกรรม ส่วนงานอื่น ๆ เช่นวรรณคดี ดนตรี การแสดง นั้นมักแยกไปศึกษาในลักษณะของศาสตร์นั้นๆโดยเฉพาะ อีกทั้งผลงานดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นศิลปวัตถุจึงไม่สามารถนำมาศึกษารวมกันในที่นี้ นอกจากนี้ศิลปะไทยยังแบ่งออกเป็นยุคสมัยต่างๆ ดังนี้  สมัย ทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสนหรือล้านนา สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยปัจจุบัน งานศิลปะที่เด่นที่สุดของสมัยต่างๆ คืองานด้านประติมากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเรียกเฉพาะว่างาน ปฏิมากรรม และงานสถาปัตยกรรมเช่น สถูปเจดีย์โบสถ์ วิหาร ในสมัยปัจจุบันมีอิทธิพลของตะวันตกเข้ามามีบทบาทในการสร้างงานศิลปะจนกลาย เป็นแบบสากลแต่ศิลปินส่วนหนึ่งยังคงสร้างงานในรูปแบบเดิมที่เรียกว่า ศิลปะประเพณี Traditional Art

ที่มา : http://www.namsongkram.com/2015/01/blog-post_13.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น